VISION : ภายในปี ๒๕๕๕ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศีกษาสระแก้วเป็นแหล่งการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ที่มีการพัฒนาองค์กรให้ทำงานเป็นทีมร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายด้วยกัลยาณมิตร : within the year 2012 Sakaeo Science Centre for Education is learning place of the science, the tecnology and the environmental with organization development to work as a team, cooperate with the folk wisdom and network participant with the true friend.

DNA โจทย์เก่าเอามาเล่าใหม่

ช่วงนี้ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อมากมายเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวด้านต่าง ๆ หนึ่งในนั้นเป็นเรื่องราวในแวดวงบันเทิง ในฐานะผู้ให้บริการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์จึงไม่ขอแสดงความคิดเห็นร่วมเกี่ยวกับเหตุการณ์ แต่ขอให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นบางอย่างที่พูดถึงกัน ประเด็นนั้นคือ DNA

ดีเอ็นเอ (DNA) มีชื่อแบบเต็มว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) เป็นสารพันธุกรรม มีลักษณะเป็นกรด เรียก กรดนิวคลีอิก สามารถพบได้ในส่วนกลางของเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมถึงเชื้อรา แบคทีเรีย แม้กระทั่งไวรัส แต่ไวรัสไม่จัดเป็นสิ่งมีชีวิต เป็นเพียงอนุภาคหนึ่งเท่านั้น ภายในดีเอ็นเอได้มีการบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดไว้ ซึ่งเป็นการผสมผสานลักษณะที่มาจากสิ่งมีชีวิตที่เป็นบรรพบุรุษ โดยสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ลักษณะจะเป็นเกลียวคู่ บิดตัว มีการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) โดยมีเบสอยู่สี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (adenine, A), ไทมีน (thymine, T), ไซโทซีน (cytosine, C) และกัวนีน (guanine, G) โดยที่ A จะเชื่อมกับ T และ C จะเชื่อมกับ G ซึ่งการเรียงลำดับของเบสในดีเอ็นเอนั้นเองที่ส่งผลถึงความแตกต่างของพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด และเป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกสายสัมพันธ์ของครอบครัวได้

การตรวจหาความสัมพันธ์ของดีเอ็นเออาจทำให้ความจริงปรากฏได้ แต่หากไม่มีความสัมพันธ์ทางจิตใจที่ดีแล้วไซร้ ความสัมพันธ์อื่นใดก็หมดความหมายไปได้เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น: