จักรวาลวิทยาอาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชา แต่ในปัจจุบัน หมายถึงการศึกษาเอกภพโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์
ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าเอกภพประกอบด้วยโลกที่ถูกโอบล้อมด้วยท้องฟ้าคือเทพเจ้านัท
ต่อมาเมื่อศึกษาท้องฟ้าและการโคจรของดวงดาวมากขึ้นก็สามารถสร้างแบบจำลองเอกภพที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษานั้น โดยให้โลกเป็นจุดศูนย์กลางของเอกภพ และมีพระจันทร์ พระอาทิตย์ รวมทั้ง ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ทั้งหลาย โคจรอยู่รายล้อม แบบจำลองนี้เป็นที่ยอมรับกันมานับพันปี ก่อนที่โคเปอร์นิคัสจะเสนอแบบจำลองใหม่ที่ให้ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีทฤษฎีใหม่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของเอกภพมากขึ้น เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และควอนตัมฟิสิกส์ รวมทั้งมีการค้นพบหลายสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อวงการจักรวาลวิทยาเหล่านี้ทำให้ภาพของเอกภพในใจมนุษย์นั้นกระจ่างแจ่มชัดและใกล้เคียงความจริงยิ่งขึ้นก็เป็นได้
ต่อมาเมื่อศึกษาท้องฟ้าและการโคจรของดวงดาวมากขึ้นก็สามารถสร้างแบบจำลองเอกภพที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษานั้น โดยให้โลกเป็นจุดศูนย์กลางของเอกภพ และมีพระจันทร์ พระอาทิตย์ รวมทั้ง ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ทั้งหลาย โคจรอยู่รายล้อม แบบจำลองนี้เป็นที่ยอมรับกันมานับพันปี ก่อนที่โคเปอร์นิคัสจะเสนอแบบจำลองใหม่ที่ให้ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีทฤษฎีใหม่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของเอกภพมากขึ้น เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และควอนตัมฟิสิกส์ รวมทั้งมีการค้นพบหลายสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อวงการจักรวาลวิทยาเหล่านี้ทำให้ภาพของเอกภพในใจมนุษย์นั้นกระจ่างแจ่มชัดและใกล้เคียงความจริงยิ่งขึ้นก็เป็นได้
มนุษย์มักจะมีคำถามคำถามหนึ่งขึ้นในใจตัวเองอยู่เสมอว่า เรามาจากไหน เราคือใคร และเรากำลังจะไปไหน บางทีจักรวาลวิทยาอาจจะเป็นกุญแจสำคัญดอกหนึ่งที่จะไขคำตอบของคำถามเหล่านี้
ความรู้เพิ่มเติม
แบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลาง (geocentric)
ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง (heliocentric)
เอกภพ (มาจาก universe = uni + verse) หรือ จักรวาล ในดาราศาสตร์นั้น คือ พื้นที่อันกว้างใหญ่มหาศาล
ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง (heliocentric)
เอกภพ (มาจาก universe = uni + verse) หรือ จักรวาล ในดาราศาสตร์นั้น คือ พื้นที่อันกว้างใหญ่มหาศาล
เรียบเรียงจากเว็บไซด์ วีกิพีเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น