เช้าของวันที่ 3 กันยายน 2552 เมื่อชาวคณะศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้วได้รับทราบข้อมูลว่าช่วงนี้ “ดอกลาน” จากต้นลานกำลังออกดอกบานสะพรั่งเต็มที่ ก็ไม่รอช้าที่จะรีบไปสัมผัสและหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ จุดหมายที่เดินทางไปครั้งนี้คือ “อุทยานแห่งชาติทับลาน”
อุทยานแห่งชาติทับลาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปักธงชัย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี สภาพป่าที่นี่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื้อที่ของอุทยานแห่งชาติที่นี่ ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ คือ มีเนื้อที่ประมาณ 1,397,375 ไร่ หรือ 2,235.80 ตารางกิโลเมตร
เมื่อถึงจุดหมายปลายทาง และเดินสำรวจต้นลาน พร้อมกับเจ้าหน้าอุทยาน ทำให้ทราบว่า “ต้นลาน” เป็นพันธุ์ไม้ที่หาดูได้ยาก มีเฉพาะบางท้องที่ เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์ปาล์ม (Palmae) เป็นพืชที่มีความทนทานต่อภัยธรรมชาติเป็นอย่างดี สามารถเติบโตได้ในที่ที่มีความชื้นสูง และระบายน้ำได้ดี ส่วนใหญ่จะชอบขึ้นเป็นป่าดงใหญ่ เป็นกลุ่ม ต้นลานที่ขึ้นตามธรรมชาติจะเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำ ลำธารต่างๆ และมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น หุบผา หน้าผา น้ำตก
อุทยานแห่งชาติทับลาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปักธงชัย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี สภาพป่าที่นี่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื้อที่ของอุทยานแห่งชาติที่นี่ ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ คือ มีเนื้อที่ประมาณ 1,397,375 ไร่ หรือ 2,235.80 ตารางกิโลเมตร
เมื่อถึงจุดหมายปลายทาง และเดินสำรวจต้นลาน พร้อมกับเจ้าหน้าอุทยาน ทำให้ทราบว่า “ต้นลาน” เป็นพันธุ์ไม้ที่หาดูได้ยาก มีเฉพาะบางท้องที่ เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์ปาล์ม (Palmae) เป็นพืชที่มีความทนทานต่อภัยธรรมชาติเป็นอย่างดี สามารถเติบโตได้ในที่ที่มีความชื้นสูง และระบายน้ำได้ดี ส่วนใหญ่จะชอบขึ้นเป็นป่าดงใหญ่ เป็นกลุ่ม ต้นลานที่ขึ้นตามธรรมชาติจะเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำ ลำธารต่างๆ และมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น หุบผา หน้าผา น้ำตก
นอกจากต้นลานจะให้ประโยชน์แก่ธรรมชาติแล้ว ส่วนประกอบของพืชชนิดนี้ยังให้ประโยชน์แก่มนุษย์อีกด้วย เช่น “ใบลาน” ถ้าเป็นชนิดอ่อน ก็นำมาสานเป็นวัสดุต่างๆ ได้ ถ้าเป็นชนิดแก่ ก็นำมาทำเป็นใบลานเพื่อเขียนตัวหนังสือลงไป ตามที่เราเคยได้ยินคำว่า “คัมภีร์ใบลาน” นั่นเอง
ต้นลานมีสองเพศ คือ เพศผู้ และ เพศเมีย ชื่อของต้นลานที่เราพบบ่อย ได้แก่ “ลานดำ” “ลานขาว” “ลานพร้าว” (มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Corypha Lecomtei Becc. ) ลักษณะลำต้นจะมีกิ่งก้านที่ขึ้นถี่ และ อาจพบ “ลานดง” ที่มีลักษณะกิ่งก้านที่ขึ้นห่างๆ ได้ด้วย
(ภัฑรกิจ ไชยถา : ภาพ, บทความ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น