“เขายักษ์” เป็นชื่อเรียกสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ตาพระยา คำสั้นแต่สื่อความหมายชัดเจนดังนี้
หากเราเดินป่าขึ้นไปบนสันเขาที่สูงที่สุดของอุทยานแห่งชาติตาพระยา ณ จุดชมวิว ซึ่งมีความสูง 495 เมตร จากระดับน้ำทะเลและมองลงมาพบว่าอุทยานแห่งชาติตาพระยามีกำแพงภูเขาล้อมรอบสามด้าน บริเวณอุทยานเป็นที่ราบอยู่ระหว่างหุบเขา ด้านหน้าที่ไม่มีภูเขาล้อมมีภูเขาลูกเล็ก ๆ อยู่กลางพื้นราบ ภูเขาลูกนี้สูง 10 เมตร จากระดับดินเดิมคือความสูงที่ 205 เมตร จากระดับน้ำทะเล นี้คือ “เขา” ที่ชาวบ้านเรียกกัน สำหรับ “ยักษ์” เป็นภาพแกะสลักบนก้อนหินทรายสูงประมาณ 2 เมตร กว้างประมาณ 2 เมตร มีคำบรรยายประกอบภาพแกะสลักไว้ดังนี้
จากการสังเกตเบื้องต้น สันนิษฐานว่าเป็นรูปพระศิวะโดยเหตุที่มีเพศเป็นฤๅษีและปรากฏตรีศูล ซึ่งเป็นอาวุธของพระศิวหรือไม่เช่นนั้นก็อาจเป็นภาพของฤๅษี ผู้บำเพ็ญเพียรในศาสนาอินดูลัทธิไศวนิกายที่นับถือพระศิวะก็เป็นได้
ชาวบ้านแถบนี้แต่เดิมแลดูว่าภาพนี้เป็นยักษ์ จึงเรียกกันต่อ ๆ มาว่าเขายักษ์
รูปแบบศิลปะหรืออายุสมัยแม้อาจดูคล้ายกับภาพฤษีในศิลปะจาม รุ่นพุทธศตวรรษที่ 12-13 หรือการแสดงภาพบุคคลชั้นสูงในท่าประทับนั่งแบบมหาราชลีลานี้ค่อนข้างเป็นที่นิยมกันในศิลปะจาม รุ่นพุทธศตวรรษที่ 14-15 แต่รูปพรรณของพระศิวะที่เขายักษ์นี้ค่อนข้างเป็นพื้นเมือง (แบบชาวบ้าน)
สรุปว่า “เขายักษ์” คือเขาลูกเล็กที่มีภาพแกะสลักหน้าตาคล้ายยักษ์อยู่บริเวณนั้น ในความหมายที่ชาวบ้านมองเห็น
ปัญญา วารปรีดี
ผู้เขียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น